หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง (ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากในระบบปรับอากาศ)สามารถเทียบได้กับหน่วยแคลรี่หรือหน่วยจูลในระบบสากล โดยที่ความร้อน 1 Btu คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความร้อน ( ถ่ายเทความร้อน ) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียูต่อชั่วโมง ( Btu/h ) ซึ่งเทียบเท่ากับหน่วยวัตต์ในระบบสากล เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้น มีความสามารถในการดึงความร้อน ออกจากห้องปรับอากาศ 12,000 บีทียู ภายในเวลา 1 ชั่วโมง แต่โดยทั่วไปในท้องตลาดมักใช้คำว่า บีทียู ต่อ ชั่วโมง ซึ่งเป็นการใช้ที่ผิดหลัก วิชาการแต่ว่าเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
ขนาดเครื่อง (BTU) | ขนาดห้อง (ตารางเมตร) | |
---|---|---|
ห้องปกติ
|
ห้องที่โดนแดด
| |
9000 |
12-14 ตรม.
|
11-13 ตรม.
|
12000 |
16-20 ตรม.
|
14-18 ตรม.
|
18000 |
20-28 ตรม.
|
21-27 ตรม.
|
21000 |
28-35 ตรม.
|
25-32 ตรม.
|
24000 |
32-40 ตรม.
|
28-35 ตรม.
|
26000 |
35-44 ตรม.
|
30-39 ตรม.
|
30000 |
40-50 ตรม.
|
35-45 ตรม.
|
36000 |
48-60 ตรม.
|
42-54 ตรม.
|
40000 |
56-65 ตรม.
|
52-60 ตรม.
|
48000 |
64-80 ตรม.
|
56-72 ตรม.
|
60000 |
80-1000 ตรม.
|
70-90 ตรม.
|
800 = ห้องที่มีความร้อนสูงใช้กลางวันมาก
การคำนวน BTU
BTU = พื้นที่ห้อง(กว้างxยาว) x ตัวแปร
ตัวแปรแบ่งได้
2 ประเภท