วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วิธีคำนวนบีทียูเหมาะกับห้อง BTU (British Thermal Unit)

หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง (ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากในระบบปรับอากาศ)สามารถเทียบได้กับหน่วยแคลรี่หรือหน่วยจูลในระบบสากล โดยที่ความร้อน 1 Btu คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์  มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความร้อน ( ถ่ายเทความร้อน ) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียูต่อชั่วโมง ( Btu/h ) ซึ่งเทียบเท่ากับหน่วยวัตต์ในระบบสากล เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้น มีความสามารถในการดึงความร้อน ออกจากห้องปรับอากาศ 12,000 บีทียู ภายในเวลา 1 ชั่วโมง แต่โดยทั่วไปในท้องตลาดมักใช้คำว่า บีทียู ต่อ ชั่วโมง ซึ่งเป็นการใช้ที่ผิดหลัก วิชาการแต่ว่าเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
ขนาดเครื่อง (BTU)ขนาดห้อง (ตารางเมตร)
ห้องปกติ
ห้องที่โดนแดด
9000
12-14 ตรม.
11-13 ตรม.
12000
16-20 ตรม.
14-18 ตรม.
18000
20-28 ตรม.
21-27 ตรม.
21000
28-35 ตรม.
25-32 ตรม.
24000
32-40 ตรม.
28-35 ตรม.
26000
35-44 ตรม.
30-39 ตรม.
30000
40-50 ตรม.
35-45 ตรม.
36000
48-60 ตรม.
42-54 ตรม.
40000
56-65 ตรม.
52-60 ตรม.
48000
64-80 ตรม.
56-72 ตรม.
60000
80-1000 ตรม.
70-90 ตรม.
700 = ห้องที่มีความร้อนน้อยใช้เฉพาะกลางคืน
800 = ห้องที่มีความร้อนสูงใช้กลางวันมาก

การคำนวน BTU
BTU = พื้นที่ห้อง(กว้างxยาว) x ตัวแปร
ตัวแปรแบ่งได้ 2 ประเภท

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

หลักการถ่ายเทความร้อนของฉนวนกันความร้อน



การถ่ายเทความร้อน โดย ธรรมชาติจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ เล่นเดียวกับน้ำที่ไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำ วิธีการถ่ายเทความร้อน แบ่งออกเป็น 3 วิธีหลัก ๆ คือ การนำความร้อน (Conduction) การพาความร้อน (Convection) และการแผ่รังสีความร้อน (Thermal radiation) การนำความร้อน คือ ปรากฏการณ์ที่พลังงานความร้อนถ่ายเทพลังงานโดยอาศัยการเคลื่อนที่ของมวลสารของของไหล หรือก๊าซ ที่มีพลังงานบรรจุอยู่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง สำหรับการแผ่รังสีความร้อน รังสีความร้อน คือ การถ่ายเทความร้อนโดยอาศัยสเปคตรัมการแผ่รังสี คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปล่งออกมาจากพื้นผิวของวัตถุที่ถูกกระตุ้นทางความร้อน รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ (ซึ่งรวมแสงที่ตามองเห็น คลื่นวิทยุและรังสีเอ็กซ์) จะกระจายออกทุกทิศทุกทาง และเมือรังสีนี้ไปกระทบอีกวัตถุหนึ่ง บางส่วนอาจสะท้อนกลับ บางส่วนอาจส่งผ่านทะลุไป และบางส่วนอาจถูกดูดกลืนไว้ ถ้ารังสีที่ตกกระทบคือ รังสีความร้อน รังสีที่ถูกดูดกลื่นไว้จะปรากฏเป็นความร้อนภายในวัตถุที่ดูดกลื่นรังสีนั้นไว้
จากคำจำกัดความข้างต้น จะเห็นว่าการนำความร้อนและการพาความร้อนต้องมีตัวกลางในการส่งถ่ายพลังงาน ขณะที่การแผ่รังสีความร้อนไม่จำเป็นต้องมี และในความเป็นจริงหากมีสิ่งใดมากั้นกลางระหว่างวัตถุ 2 ชิ้นนั้นก็จะเป็นอุปสรรคต่อการแผ่รังสีของวัตถุทั้งสองนั้น  ตัวอย่างการแผ่รังสีความร้อนที่พบเห็นได้ง่ายต่อ การแผ่รังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ที่นำความอบอุ่นมาสู่โลก โดยความร้อนของดวงอาทิตย์สามารถส่งผ่านมายังผิวโลกได้ โดยผ่านบริเวณที่ไม่มีอะไรเลยแม้แต่อากาศที่เรียกว่า ภาวะสุญญากาศ 
เป็นระยะทางถึง 150 ล้านกิโลเมตร (93 ล้านไมล์) อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง การถ่ายเทความร้อนมักไม่ปรากฏว่าเป็นวิธีใดวิธีหนึ่งโดยเฉพาะ แต่จะเป็นรูปแบบผสมของวิธีดังกล่าวข้างต้นรวมกัน เพียงแต่รูปแบบไหนจะสำคัญมากกว่าเป็นกรณี ๆ ไปเท่านั้น

การนำความร้อน
การนำความร้อนจริง ๆ แล้วเป็นกระบวนการ ซึ่งเกิดขึ้นบนชั้นอะตอมของ อนุภาคพบว่าในโลหะ การนำความร้อนเป็นผลมาจากเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนอิสระ (คล้ายการนำไฟฟ้า) ในของเหลวและของแข็งที่มีสภาพนำความร้อนต่ำการสั่นของโมเลกุลข้างเคียงคิดว่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดการนำความร้อนขึ้น ส่วนก๊าซการนำความร้อนเกิดขึ้นผ่านการสั่นระหว่างโมเลกุล อย่างไรก็ตาม ผลของการถ่ายเทความร้อนด้วยการนำที่เกิดขึ้นทั้งหมดอธิบายในลักษณะผลที่เกิดขึ้นกับวัตถุทั้งระบบ ไม่ได้เจาะลึกถึงระดับโมเลกุล ซึ่งจากการทดลองพบว่า อัตราการถ่ายเทความร้อนโดยการนำความร้อนเป็นลัดส่วนตรงกับผลต่างของอุณหภูมิคร่อมผิววัตถุ (ด้านอุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ) และพื้นที่ผิวที่ความร้อนไหลผ่าน (ตั้งฉากกับทิศทางการไหลของความร้อน) แต่จะเป็นลัดส่วนกลับกับความหนาของวัตถุนั้น (ระยะทางที่ความร้อนถ่ายเท)

ขอบคุณและรูปภาพ
หนังสือ คู่มือ ฉนวนความร้อน